แพทย์หญิงสุพัฒนา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา อาจารย์จิตแพทย์อาวุโส ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์และชุดครุยราชวิทยาลัยฯ ได้ส่งความหมายของตราราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยมาเพื่อสมาชิกทราบกันต่อไป ดังนี้
ความหมายตราราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

พญานาคพันคบเพลิงงูพันคบเพลิงเป็นสัญลักษณ์ของวิชาแพทยศาสตร์มาแต่โบราณกาล
จิตเวชศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีงูพันคบเพลิง
พญานาค เป็นงูที่ศักดิ์สิทธิ์และสง่างามจึงใช้พญานาคแทนงูธรรมดา
ขดเป็นรูปอักษร 'จ'อันเป็นอักษรย่อของคำว่า 'จิตแพทย์' จิตแพทย์จักต้องมีความเป็นแพทย์เต็มตัว ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะและจริยธรรม
โอบกระหวัดคบเพลิง หมายถึง จิตเวชศาสตร์จะต้องเกี่ยวกระหวัดผูกพันกับวิชาแพทยศาสตร์ (medicine) อย่างไม่แยกจากกัน (คือไม่สามารถแยก psychiatry ออกจาก medicine และไม่สามารถแยกจิตใจออกจากกายได้)
วงรีที่ล้อมรอบ
เส้นโค้ง คือ เส้นตรงที่มีความยืดหยุ่น จิตแพทย์ต้องซื่อตรง (honest) แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีความยืดหยุ่น (flexible)
วงรี ความรีในเชิงสุนทรียศาสตร์ถือว่าเป็นศิลปะแห่งความปราณีดงดงาม และอ่อนโยนอัน ควรเป็นคุณสมบัติของจิตแพทย์ (oral shape งดงามและอ่อนโยนกว่าวงกลม และไม่แข็งกระด้าง อย่างรูปสี่เหลี่ยม)
การตั้งตราในแนวดิ่ง หมายถึง ความมั่นคงของวิทยาลัยฯ แต่เมื่อสถาปนาเป็นราชวิทยาลัย แล้วต้องเพิ่มคือมงกุฎครอบ จึงต้องดัดแปลงวงรีในแนวตั้งให้เป็นวงรีในแนวนอน เพราะมิฉะนั้นจะทำให้ตราสูงผิดส่วน
ครุย แสดงถึงวิทยฐานะของสมาชิกวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ตัวเสื้อครุยเป็นสีดำ ตามมาตรฐานสากล คาดแถบกำมะหยี่สีแดงเข้ม (แดงมารูน)อันเป็นสีแห่งความสง่างาม และมีผ้าคล้องคอ คลุมใหล่สีเดียวกัน ดัดแปลงจากชุดครุยของสถาบัน NIDA hood ที่ คล้องนำแบบจาก Stanford University
|